มะเร็งลำไส้ใหญ่
COLORECTAL CANCER

รายละเอียดของโรค

เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวของลำไส้ที่ผิดปกติ จนเริ่มจากเป็นติ่งเนื้อในลำไส้ (polyp) เมื่อเวลาผ่านไปติ่งเนื้อจะโตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นมะเร็งในที่สุดภายใน 5-10ปี

อาการ

• ท้องผูกมากขึ้น
• ท้องผูกสลับกับท้องเสีย
• ถ่ายอุจจาระลำลีบเล็กลง
• ถ่ายเป็นมูกเลือด
• ปวดท้องเรื้อรัง
• มีภาวะน้ำาหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

การรักษา

• รักษาด้วยการผ่าตัด
• รักษาด้วยการใช้รังสี
• รักษาด้วยการใช้เคมีบำบัด

โรคนี้คืออะไร?

โรคมะเร็งที่พบบ่อยเป็นที่สุดอันดับที่ 3 ของคนไทย โรคจะเริ่มจากการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวของลำไส้ที่ผิดปกติจนเริ่มจากเป็นติ่งเนื้อในลำไส้ (polyp) เมื่อเวลาผ่านไปติ่งเนื้อนี้จะโตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นมะเร็งในที่สุดภายใน 5 – 10 ปี

อาการของโรค

อาการหลักๆจะเกี่ยวของกับการขับถ่าย ได้แก่
• ท้องผูกมากขึ้น
• ท้องผูกสลับกับท้องเสีย
• ถ่ายอุจจาระลำลีบเล็กลง
• ถ่ายเป็นมูกเลือด
• ปวดท้องเรื้อรัง
• บางคนก็มีภาวะน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุเหนื่อยเพลียจากภาวะซีด หรือคลำก้อนเนื้อที่หน้าท้อง เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค

ในปัจจุบันเรายังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลักๆของโรคได้แก่
• ผู้ที่มีประวัติทางพันธุกรรม เช่น มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
• โรคทางพันธุกรรมบางชนิด
• โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง(inflammatory bowel disease) เคยฉายแสงในอุ้งเชิงกราน
• พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ รับประทานอาหารทอด ปิ้งย่าง ไขมันสูง เป็นต้น

การตรวจวินิฉัย

• การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เพื่อดูตำแหน่งของรอยโรค และตัดชิ้นเนื้อ (biopsy)มาตรวจทางพยาธิวิทยา
• ตรวจเลือดเพื่อดูค่า CEA
• เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เพื่อดูการกระจายของโรคไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกาย
• การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI) ในบางกรณี เช่นมะเร็งลำไส้ตรง

แนวทางการรักษา

การรักษาหลักในระยะที่ยังไม่มีการแพร่กระจายคือ
• การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก โดยเทคนิคการผ่าตัด ขึ้นกับตําแหน่งของก้อนเนื้อ
• ส่วนการให้เคมีบําบัดจะมีประโยชน์ในบางกรณีที่มีข้อบ่งชี้
• การฉายแสงจะมีประโยชน์ในบางกรณีที่มีข้อบ่งชี้

ปัจจุบันการผ่าตัดมีสองวิธีคือ
• การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง (open surgery)
• การผ่าตัดแบบส่องกล้อง (laparoscopic surgery ) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ทําให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กขนาด 5-10 mm ประมาณ 4 แผล และแผลที่เปิดเพื่อเอาก้อนเนื้อออกขนาดประมาณ 4-5 cm ซึ่งมีข้อดี คือผู้ป่วยจะเจ็บแผลน้อยกว่าและฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่า ทําให้ผู้ป่วย นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลสั้นกว่า โดยที่ผลการรักษาเรื่องมะเร็งในระยะยาวไม่มีแตกต่างกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องนั่นเอง

ผ่าตัดลำไส้แบบเปิดหน้าท้อง

โรคที่เกี่ยวข้อง:
มะเร็งลำไส้ใหญ่

ผ่าตัดลำไส้แบบเจาะรูส่องกล้อง

โรคที่เกี่ยวข้อง:
มะเร็งลำไส้ใหญ่

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่
คัดกรองมะเร็งลำไส้

โรคที่เกี่ยวข้อง:
มะเร็งลำไส้ใหญ่

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง